Teaching

ดับทุกข์กามตัณหา

ที่จะหมดสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร… ต้องดับ กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวะตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้าดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าดับ กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวะตัณหาได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะศีล สมาธิ ปัญญา นี่เองที่มา,หน้า ๒๖๓ บ.๑๓ (กัณฑ์ที่ ๑๙ โอวาทปาฏิโมกข์ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

เห็นได้ด้วยการปฏิบัติสมาธิ

สมาธิโดยทางปริยัติ โดยทางปฏิบัติ… แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ  ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียวที่มา,หน้า ๒๕๐ บ.๙,๑ (กัณฑ์ที่ ๑๗ สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

นึกถึงความเสื่อมของร่างกาย

ความเสื่อมน่ะ จะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย……นี้แหละเจอละ ทางไป ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก็ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ…ที่มา,หน้า ๒๑๘ (กัณฑ์ที่ ๑๖ ปัจฉิมวาจา ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

หยุดคำเดียว

หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร?  หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ก็ไม่ถูกทางไป ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุด นั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี.ที่มา,หน้า ๒๐๖ บรรทัดที่ ๒๑,๒๗ หน้า๒๐๗บ.๓ (กัณฑ์ที่ ๑๕  ติลักขณาทิคาถา ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

การละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร?  เราต้องเดินในช่องทางของ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก็  เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว.ที่มา,หน้า ๒๐๐ บรรทัดที่๑และ  ๑๙๙บ.๒๕  (กัณฑ์ที่ ๑๖  เขมาเขมสรณาคมน์ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

ทำใจหยุดนิ่งปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า

ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน เชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าละก็ ต้องทำใจให้หยุด หยุดอยู่ที่กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นแหละหยุด นั่ง นอน ยืน เดิน ให้หยุดร่ำไป  หยุดได้ นั่นแหละ ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ละที่มา,หน้า ๑๓๙ บรรทัดที่  ๔  (กัณฑ์ที่ ๙  เบญจขันธ์ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖)

แก่นของพระพุทธศาสนา

เราก็เกิดมาประสพพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่แก่นศาสนา มีตัวจริงศาสนา อยู่ในตัวของเรา เป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ต้องไปทางหยุดอย่างเดียว หยุดให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้ เดินตามมัชฌิมาปฏิปทา ไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้นจึงเข้าถึง ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ.ที่มา,หน้า ๗๕๖ บรรทัดที่ /๒๐/  (กัณฑ์ที่๕๗ สังคหวัตถุ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

พระรัตนะในศูนย์กลางกาย

“ร่างกายพระสิทธัตถะไม่ใช่พุทธรัตนะ พระสิทธัตถะทรงกระทำความเพียร อยู่ถึง๖พรรษา จึงพบพระรัตนะอันลี้ลับซับซ้อนอยู่ในพระองค์ คือ กายธรรม มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฎอยู่ในศูนย์กลางกาย…ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอ ทำเนืองๆ ในทุกอริยาบถ ไม่ว่า นั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง…

ศีล 5

สีลํ รกฺขติ หากว่ามีคนมากเช่นนี้ คือตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เราต้องรักษาศีล ต้องบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา และบริสุทธิ์ใจ มีศีลด้วยกันทั้งหมด ศีล ๕ คือปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมฯ มุสาฯ สุราฯห้าสิกขาบทนี้ ต้องบริสุทธิ์จริงๆ ควรระวังให้ดี อย่าให้เหตุเหล่านี้เข้าครอบงำได้ ตนเองจึงจะเป็นสุขกายสุขใจ มีคนเท่าไรก็เป็นสุข ไม่ต้องเดือดร้อนเลย แต่เป็นสุขอย่างธรรมดาเท่านั้น ถ้าจะให้เป็นสุขและฉลาดยิ่งขึ้นไป ต้องเจริญภาวนาที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๓ – ๔๔  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)