
ธรรมะอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
พวกเรานี่มันสงสัยทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่น จากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลยตรงนั้นแหละ เอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง…ที่มา,หน้า ๒๙๓ (กัณฑ์ที่ ๒๒ อุทานคาถา ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

สุรา คือ โมหะ
ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาล่ะโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเอง เปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องคอยระแวดระวัง…ที่มา,หน้า ๒๓๐ (กัณฑ์ที่ ๑๗ ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

ดวงธรรมนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ
ดวงธรรมผ่องใสสะอาดสะอ้าน กายต่างๆนั้น ก็รุ่งโรจน์โชตนาการธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์ก็ไม่ผ่องใสซอมซ่อไม่สวยงามน่าเกลียดน่าชังไป เพราะธรรมดวงนั้นสำคัญนักธรรมดวงนั้นเป็นชีวิตของมนุษย์ ดวงธรรมนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ(ที่มา สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน น.๘๙๔)

ผู้มีปัญญา
ผู้มีปัญญารู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงและต่ำ ดีชั่ว ผิดชอบ เมื่อเราตั้งอยู่ในความเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย ต้องมีใจอย่างนั้น เราเป็นผู้น้อยก็ต้องตั้งอยู่ในความเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ อย่าถือเอาแต่ตัวของตัวไม่ได้ ต้องเคารพคาราวะซึ่งกันและกัน ผู้น้อยผู้ใหญ่เป็นลำดับลงไป เคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ตามพรรษา อายุ ตามคุณธรรมนั้นๆ นั่นเรียกว่ามีปัญญา

ธรรมะประจำตัว
คิดถึงแต่สมบัติบ้าๆ เข้าใจแต่สิ่งหยาบๆ เที่ยวคว้าเรื่อยเปื่อยทีเดียว วุ่นวายไปตามกัน เพราะเหตุว่าไม่มีธรรม ๔ อย่างนี้ อยู่ในตัว ถ้ามีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัวแล้ว ไม่วุ่นวาย ไม่คลาดเคลื่อน แต่อย่างหนึ่ง อย่างใด ยิ้มกริ่มทีเดียว เพราะไปเจอบ่อทรัพย์ใหญ่เข้าแล้ว มีธรรม ๔ ประการอยู่ในตัว คือ เป็นคนเชื่อในพระตถาคตเจ้า, มีศีลอันดีงาม, เลื่อมใสในพระสงฆ์ , ความเห็นของตัวให้ตรงไว้ เห็นธรรมนั่นเอง นี่แหละนักปราชญ์ทั้งหลายเชิดชู กล่าวว่าบุคคลนั้น ไม่ใช่เป็นคนจน ถ้าเราไม่อยากเป็นคนจน อยากเป็นคนมั่งมีแล้ว ต้องมีธรรม 4 ประการนี้ อย่าให้เคลื่อนที่มา,หน้า ๒๙๐ บ.๒๗ (กัณฑ์ที่ ๒๑…

Wealth and Possessions Come on Their Own
Buddhism is like this: One does not need to actively seek wealth and possessions. When one follows the correct path, wealth and possessions come naturally. Food and sustenance will come by themselves, regardless of whether one lives in the forest,…

เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติ
เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์ นั่นก็ยังเป็นทางปริยัติอยู่ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติเข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ สำเร็จมาจากเจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า นี่ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้นรับรองทีเดียว นั่นแหละ ธัมโม ละเรียกว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้นที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๕ – ๘๖ (กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ๑๒…

ศาสนาพุทธ อยู่ได้ด้วยการให้
ศาสนาพุทธนี้ อยู่ได้ด้วยการให้ ถ้าเลิกให้กันเสียสักเดือนเดียว ข้าวปลาอาหารไม่ให้กันละ หยุดกันหมดทั้งประเทศ ทุกบ้านทุกเรือนไม่ให้กันละ ศาสนาดับ พระเณรสึกหมด หายหมดไม่เหลือเลย นี่เพราะอะไร เพราะการให้นี่เองการให้นี่สำคัญนัก เพราะทุกคนอยู่ได้ด้วยการให้ทั้งนั้น ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า ให้โภชนาหารอิ่มเดียว ได้ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ เป็นที่ปรารถนาของคนทั้งหลาย. BBBที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๑ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

บุญทำให้สะดวกสบาย
ถ้าเรามีบุญเสียแล้ว จะค้าขายก็ร่ำรวย จะทำงานทำกิจการอะไรก็เจริญ จะหาทรัพย์สมบัติก็ได้คล่อง สะดวกสบายไม่ติดขัดแต่ประการใด ถ้าว่าไม่มีบุญ จะทำอะไรก็ติดขัดไปเสียทุกอย่างทุกประการดังนั้น จึงได้ชักชวนพวกเราให้มาทำบุญทำกุศลเสีย จะได้เลิกจน เลิกทุกข์ยากลำบากเสียทีที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๒ (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)