Teachings

Behave in a Beneficial Manner

How should we act to be of benefit to others in this world? If everyone behaves in a way that benefits each other, rather than seeking personal happiness alone, and instead spreads happiness to everyone, that is the ideal. Start…

พระของขวัญ

เอาใจจรดเข้าที่พระของขวัญนั้น ขออาราธนา พระองค์ได้ทรงโปรดข้าพระพุทธเจ้าเป็นพ่อค้า หญิงก็หม่อมฉันเป็นแม่ค้าการค้าของข้าพระพุทธเจ้า ขอให้กว้างขวางเต็มประเทศไทยล้นประเทศไทย ขอให้ซื้อง่ายขายคล่องกำไรงาม ดังไปถึงพระนิพพานก่อนจะค้าขายภาวนาอย่างนี้ทุกคราวไป ขายของ ขายง่าย ขายดายขายสะดวกเหมือนเทน้ำเทท่า..(ที่มา โอวาทเนื่องด้วย พระของขวัญ น.๘๘๑ บ.๓)

ดื่มสุราทำให้เกิดโทษ

สุรามันเกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นย่อยยับหนา สุรามันไปติดยู่กับคนใดละคนนั้นก็ย่อยยับหนา หญิงก็ดีชายก็ดี ติดสุราดื่มสุราละก็ ย่อยยับหนา เอาตัวรอดไม่ได้ นี่ร้ายนัก เขาเรียกว่าฆ่าตัวเองทั้งเป็น ทำลายตัวเองอย่างดื้อๆ ตัวเองดีๆทำให้เป็นคนเสีย ตัวเองบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ ทำให้ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ กลายเป็นคนบ้าเสียแล้ว นี่แหละเรียกว่าดื่มสุราละ มีโทษมากนัก เหลือที่จะคณนานับทีเดียว เพราะฉะนั้น ควรเว้นขาดจากใจ ต้องเว้นให้ขาดทีเดียว.ที่มา,หน้า ๓๔๔ บ.๑๕ (กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ  ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเพราะธรรมคือความดี คุณธรรมให้ผลตามกาล ดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวเทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย ท่านวางหลักไว้ ไพเราะในเบื้องต้นคือศีล บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญาที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๑ – ๘๒ (กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗)

นึกถึงความเสื่อมของร่างกาย

ความเสื่อมน่ะ จะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย……นี้แหละเจอละ ทางไป ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก็ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ…ที่มา,หน้า ๒๑๘ (กัณฑ์ที่ ๑๖ ปัจฉิมวาจา ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี

โลกที่จะได้รับความสุขใจก็ต้องหยุด ตามส่วนของโลกธรรมที่จะได้รับความสุขก็ต้องหยุด ตามส่วนของธรรมท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มีหยุดอันนั่นเองเป็นตัวสำคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทำใจให้หยุด(ที่มา หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนาฏรรมฐาน น.๙๐๙ บ.๑๙)

ทำใจให้หยุด

ภาวนํ ภาเวติ ทำให้จริง ให้หยุดให้นิ่ง ทำให้มีให้เป็นขึ้น กี่คน ๆ ก็สงบนิ่ง เมื่อสงบนิ่งแล้ว คนมีสักเท่าไรก็ไม่รกหูรกตา ไม่รำคาญไม่เดือดร้อน เป็นสุขสำราญเบิกบานใจอยู่เป็นนิจ นี่เขาเรียกว่าภาวนา ทำใจให้หยุดสงบ หยุดสงบแล้วไม่ใช่แต่เท่านั้น หยุดอยู่สงบ หาเรื่องทำ จะได้ทรัพย์สมบัติมาเลี้ยงกันอีก ให้พวกเขาอยู่เป็นสุขสำราญ เครื่องกินเครื่องใช้ไม่ขาดตกบกพร่องจะให้เป็นคนสมบูรณ์อยู่เสมอ ก็ต้องใช้วิชาวิปัสสนาภาวนา หาปัญญาแก้ไขให้ทานในวันต่อไป ไม่ให้หมดให้สิ้นไป เมื่อให้ทานไม่หมดไม่สิ้นไปเช่นนี้ พวกพ้องก็มากขึ้นเป็นลำดับ ภาวนานั่นแหละจะช่วยเขาได้ทุกสิ่งทุกประการที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๔ – ๔๕  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

ใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง

ถ้าเราจะทำสิ่งใดด้วยกายละก็เอาปัญญาสอดส่องตรองเสียก่อนหนาถ้าว่าร้อนเราละก็อย่าทำ ร้อนเขาอย่าทำ ร้อนทั้งเราทั้งเขาล่ะอย่าทำถ้าไม่ร้อนละก็ทำเถิดท่านจะคิดสิ่งใด จะพูดสิ่งใดด้วยวาจาต้องเอาปัญญาเข้าสอดส่องตรองซะก่อนหนาถ้าว่าร้อนเราอย่าพูด ร้อนเขาอย่าพูด ร้อนทั้งเราทั้งเขาอย่าพูดถ้าว่าไม่ร้อนล่ะก็พูดเถิดท่านจะคิดสิ่งใดทางใจ ถ้าว่าร้อนเราอย่าคิด ร้อนเขาอย่าคิด ร้อนทั้งเราทั้งเขาอย่าคิดถ้าไม่ร้อนเราร้อนเขาล่ะก็คิดเถิด(ที่มา โอวาทปาฏิโมกข์ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙ น.๘๔๘ บ.๒)

เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย

พระองค์ทรงรับสั่งกับ พระวักกลิภิกขุว่า อเปหิ วกฺกลิ วักกลิจงถอยออกไป อิมํ ปูติกายํ ทสฺสนํ มาดูใยเล่าร่างกายตถาคตที่เป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ   แนะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราผู้ตถาคต ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ  ผู้ตถาคตคือธรรมกาย นั่นแน่ะบอกตรงนั้นแน่ะ ว่าเราผู้ตถาคตคือธรรมกาย ธรรมกายนั้นเองเป็นตัวตถาคตเจ้า.